หลายๆคนคงสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ หรือ Personal Computer ที่เราๆใช้กันอยู่ปัจจุบันนั้นมันควรจะมีอะไร ประกอบอยู่ภายใน หรือคนที่เป็นมือใหม่จะหาซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์มาประกอบเองที่บ้าน (DIY) คงสงสัยกันนะครับว่ามันควรจะมีอะไรเป็นส่วนสำคัญ ที่พร้อมจะใช้งานได้ เรามาดูกันเลยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ควรมีอะไรบ้าง
สิ่งเราควรมีได้แก่
1. หน่วยประมวลผล และ hardware ต่างๆ
2. อุปกรณ์ Input
3. อุปกรณ์ output
4. ซอฟแวร์ (soft ware) ซึ่งมีทั้งระบบ ปฎิบัตการณ์ และซอฟแวร์ประยุกต์
1. หน่วยประมวลผล และ hardware ต่างๆ คือ หน่วยการทำงานเป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงานประมวลผลคำสั่งต่างๆ (input) ตามชุดคำสั่งหรือ จากซอฟแวร์ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
หน่วยประมวลผลการที่เป็น hardware ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน คือ CPU หรือ Central Processing Unit ในรูปแบบชิป แต่ CPU เองจะทำงานโดยลำพังไม่ได้หากขาดส่วนประกอบอื่นๆ
ส่วนประกอบที่จำเป็น หรือ hardware อื่นๆ
หน่วยความจำหรือ RAM (Random-access memory) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ทำงานโดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งจากโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นตามต้องการ แล้วส่งกลับมายัง RAM อีกครั้ง เพื่อให้ RAM ส่งข้อมูลดังกล่าวกลับไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือ Storage คือ หน่วยความจำสำรองของคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเก็บบันทึก คำสั่งและข้อมูลต่างๆเอาไว้อย่างถาวร เพื่อเอาไว้ใช้งานต่อในอนาคต หรือเพื่อนำส่งหรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ในปัจจุบันได้แก่ ฮาร์ดิส แผ่นดิส แผ่นซีดีต่างๆ เป็นต้น
เมนบอร์ด หรือ Motherboard คือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นเป็นตัวกลางในการนำอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์มาต่อเอาไว้ด้วยกัน และมี bios เป็นเฟิร์มแวร์
แต่ถึงยังไงผู้ซื้อควรเลือกเมนบอร์ดที่มีการรองรับ อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกันอย่าง CPU RAM และ Hard disk ด้วยเช่นกัน
อุปกรณ์จ่ายไฟ หรือ Power Supply คือ อุปกรณ์สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้แก่คอมพิวเตอร์ โดยการแปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น จำนวน โวลต์ต่างๆ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชิ้นในคอมพิวเตอร์
ผู้เลือกซื้อต้องเลือกดู กำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง PC ของแต่ละคนด้วย
Expansion Card ต่างๆ เป็นอุปกรณ์ คล้ายๆ บัตร ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการใช้งานเฉพาะด้าน มากกว่าคนปกติทั่วไปเขาใช้กัน เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
เคส หรือ ตัวเครื่อง เอาไว้บรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด, CPU, Power Supply เป็นต้น ตัวเคสเองควรจะมีพัดลมระบายอากาศให้แก่อุปกรณ์ภายใน
2. อุปกรณ์ Input ต่างๆ
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลเข้า ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดผ่านช่อง USB ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งแบบมีสาย และไร้สาย
คีย์บอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์หลักที่เครื่องคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องต้องมี ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีแป้นต่างๆคำสั่งต่างๆอยู่บนคีย์บอร์ด ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีต ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ปัจจุบันก็มีทั้งแบบไร้สายและแบบมีสาย
3. อุปกรณ์ output
จอมอนิเตอร์ (Monitor) คือ จอแสดงผลสำหรับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอื่นๆ ที่มีจอแสดงภาพ มีความสำคัญต่อการแสดงผลข้อมูลให้กับผู้ใช้ทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้จากทางจอภาพ จะเป็น ภาพ แสง สี ตัวหนังสือ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ได้ หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้ ปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นจอแบบ CRT LCD หรือ LED เป็นต้น
ลำโพง หรือ Speaker เป็นอุปกรณ์แสดงผลในรูปแบบของเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นระบบสื่อประสมหรือ มัลติมีเดียต่างๆ เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟแวร์ เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยดปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟแวร์จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อควบคุมและคำนวณ
ซอฟแวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการ (Operating System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฎิบัติการอย่างน้อยหนึ่งระบบเสมอ และระบบปฎิบัติการยอดนิยมในปัจจุบัน ก็ได้แก่ Windows, Mac Os และ Linux เป็นต้น
2) ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่นโปรแกรมสำหรับการสั่งซื้อขายที่ใช้ในร้านค้า หรือโปรแกรมฝากถอนเงิน ใช้ในองค์กรการเงินต่างๆ เช่น ธนคาร เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย และที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PowerPoint, Photoshop เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนประกอบที่ PC เครื่องหนึ่งควรจะมีจะได้พร้อมแก่การใช้งานในปัจจุบันครับ
อ้างอิงค์
1. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น, สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ KKU (23/11/48), http://home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/c1s1intro.htm
2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์, โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย (2559), http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/33/Data/p3.html
3. จอภาพหรือมอนิเตอร์ คืออะไร, thaiwebsocial.com (23/8/57), http://www.thaiwebsocial.com/2014/08/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-monitor-crtlcdled-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
4. ความหมายและหน้าที่ของซอฟต์แวร์, สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี (2559), http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter4/UN4_1.htm
5. ระบบปฎิบัติการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน, นายชาตรี ศรีเมือง (2559), https://sites.google.com/site/teachniccom/content5
ดูเหมือนง่ายเลย อยากประกอบคอมพิเตอร์เองบ้าง
ตอบลบ