วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัด
บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

นาย ภูมินทร์ พิลึก 53011324072 (พิเศษ) กลุ่มที่เรียน 1

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้

   1) " นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง " การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
   โปรแกรมที่นาย A เขียนขี้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อทดลองในงานวิจัยเท่านั้น หากนาย A หาได้มีเจตนาจะนำไปใช้โจมตีผู้ใดไม่
   นาย B รู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วว่า โปรแกรมดังกล่าวสามารถสร้างผมเสียแก่บุคคลอื่นได้ สิ่งที่นาย B ทำจึงเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่อ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย โดยการกระทำของนางสาว C ที่ทำให้โปรแกรมได้เผยแพร่ไปทั่ว
   ส่วนนางสาว C ก็ผิด รู้แล้วยังนำไปใช้และส่งต่อผู้อื่นอีก แทนที่จะช่วยกันป้องกัน
การกระทำของ B และ C ผิดจริยธรรม

   2) " นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J " การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
   การกระทำของนาย J ไม่เป็นความผิด เพราะไม่ได้มี เจตนาจะหลอกลวงผู้ใด แต่อาจผิดจริยธรรมในแง่ที่ว่า การที่เราเขียนหรือพิมพ์อะไรลงไป และได้เผยแพร่ไปในทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ถ้าไม่ระวังก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการ อย่างเช่น เด็กชาย K ได้
   

แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัด
บทที่ 7
ความปลอดภัยของสารสนเทศ

นาย ภูมินทร์ พิลึก 53011324072 (พิเศษ) กลุ่มที่เรียน 1

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน โดยป้องกันผู้บุกรุก (intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์, worm, การโจมตีแบบ Dos (Denial of service), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), IP spoofing เป็นต้น

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
    virus คอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์คือ ไวรัสจะนำพาตัวเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในการนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 
   แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ  Application viruses และ System viruses

4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1) การติดตั้งแอนตี้ไวรัส
2) การอัพเดตระบบปฎิบัติการสม่ำเสมอ
3) การไม่นำ USB ไปเสียบใช้งานกับคอมพิวเตอร์สาธารณะ
4) การไม่ลงโปรแกรมฟรีต่างๆ
5) ไม่ควรปิด firewall ถ้าไม่จำเป็น

5. มาตรการด้านจริยะธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
   การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการที่ผู้ใช้ จะคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยง และมีพิษภัยทางอิเทอร์เน็ต
การปิดกั้นเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสมของกระทรวงไอซีที

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัด
บทที่ 5
การจัดการสารสนเทศ

นาย ภูมินทร์ พิลึก 53011324072 (พิเศษ) กลุ่มที่เรียน 1

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

2. การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
   ต่อบุคคล คือ ในด้านการดำเนินชีวิตในประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ และทำให้เกิดความราบรื่นในการดำเนิดชีวิต และประกอบการทำงาน และการตัดสินใจได้ทันท่วงที 
   ต่อองค์กร คือ ในด้านการบริหาร การจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ผู้บริหารองค์กร จึงต้องมีการใช้และจัดการสารสนเทศที่ทันสมัย และสู้กับคู่แข่งทางด้านเศรษฐกิจได้ และเพื่อการดำเงินภายในองค์กรที่รวดเร็วก็ต้องอาศัยความรู้ใหม่ๆทางสารสนเทศเช่นกัน รวมถึงทางด้านกฎหมาย ด้วย

3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
   แบ่งออกกว้างๆ ได้ 2 ยุค คือ ยุคการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และ ยุคการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4. จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
  การจดไดอารี่ การเซฟงานที่ทำไว้ในคอมพิวเตอร์ การอัพโหลดไฟล์ไว้ในอีเมลล์

แบบฝึกหัดบทที่ 6

แบบฝึกหัด
บทที่ 6
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

นาย ภูมินทร์ พิลึก 53011324072 (พิเศษ) กลุ่มที่เรียน 1

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
     2. เทคโนโลยี
     3. สารสนเทศ
     4. พัฒนาการ
ตอบ ข้อ 1.

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
     1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
     2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
     3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     4. การพยากรณ์อากาศ
ตอบ ข้อ 2.

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
     1. ระบบอัตโนมัติ
     2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
     4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ตอบ ข้อ 1.

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     1. ระบบการโอนถ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์
     2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
     3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
     4. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ 4.

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
     1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
     2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
     3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
     4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
ตอบ ข้อ 1.

6. เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
     1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
     2. สารสนเทศ
     3. คอมพิวเตอร์
     4. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ 4.

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่ยนสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
     4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
ตอบ ข้อ 4.

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
     1. เครื่องถ่ายเอกสาร
     2. เครื่องโทรสาร
     3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
     4. โทรทัศน์ วิทยุ
ตอบ ข้อ 1.

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
     1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
     2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
     3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
     4. จะเข้ามามีบทบาทในชิวิตประจำวันมากขึ้น
ตอบ ข้อ 3.

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
     1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
     2. สามารถ สืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
     3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
     4. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ 4.

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง?

   หลายๆคนคงสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ หรือ Personal Computer ที่เราๆใช้กันอยู่ปัจจุบันนั้นมันควรจะมีอะไร ประกอบอยู่ภายใน หรือคนที่เป็นมือใหม่จะหาซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์มาประกอบเองที่บ้าน (DIY) คงสงสัยกันนะครับว่ามันควรจะมีอะไรเป็นส่วนสำคัญ ที่พร้อมจะใช้งานได้ เรามาดูกันเลยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ควรมีอะไรบ้าง

สิ่งเราควรมีได้แก่
1. หน่วยประมวลผล และ hardware ต่างๆ
2. อุปกรณ์ Input
3. อุปกรณ์ output
4. ซอฟแวร์ (soft ware) ซึ่งมีทั้งระบบ ปฎิบัตการณ์ และซอฟแวร์ประยุกต์

1. หน่วยประมวลผล และ hardware ต่างๆ คือ หน่วยการทำงานเป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงานประมวลผลคำสั่งต่างๆ (input) ตามชุดคำสั่งหรือ จากซอฟแวร์ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น

   หน่วยประมวลผลการที่เป็น hardware ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน คือ CPU หรือ Central Processing Unit ในรูปแบบชิป แต่ CPU เองจะทำงานโดยลำพังไม่ได้หากขาดส่วนประกอบอื่นๆ

   ส่วนประกอบที่จำเป็น หรือ hardware อื่นๆ

   หน่วยความจำหรือ RAM (Random-access memory) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ทำงานโดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งจากโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นตามต้องการ แล้วส่งกลับมายัง RAM อีกครั้ง เพื่อให้ RAM ส่งข้อมูลดังกล่าวกลับไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ




   อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือ Storage คือ หน่วยความจำสำรองของคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเก็บบันทึก คำสั่งและข้อมูลต่างๆเอาไว้อย่างถาวร เพื่อเอาไว้ใช้งานต่อในอนาคต หรือเพื่อนำส่งหรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ในปัจจุบันได้แก่ ฮาร์ดิส แผ่นดิส แผ่นซีดีต่างๆ เป็นต้น





   เมนบอร์ด หรือ Motherboard คือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นเป็นตัวกลางในการนำอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์มาต่อเอาไว้ด้วยกัน และมี bios เป็นเฟิร์มแวร์
แต่ถึงยังไงผู้ซื้อควรเลือกเมนบอร์ดที่มีการรองรับ อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกันอย่าง CPU RAM และ Hard disk ด้วยเช่นกัน


 
   อุปกรณ์จ่ายไฟ หรือ Power Supply คือ อุปกรณ์สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้แก่คอมพิวเตอร์ โดยการแปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น จำนวน โวลต์ต่างๆ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชิ้นในคอมพิวเตอร์
ผู้เลือกซื้อต้องเลือกดู กำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง PC ของแต่ละคนด้วย








   Expansion Card ต่างๆ เป็นอุปกรณ์ คล้ายๆ บัตร ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการใช้งานเฉพาะด้าน มากกว่าคนปกติทั่วไปเขาใช้กัน เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น









   เคส หรือ ตัวเครื่อง เอาไว้บรรจุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด, CPU, Power Supply เป็นต้น ตัวเคสเองควรจะมีพัดลมระบายอากาศให้แก่อุปกรณ์ภายใน








2. อุปกรณ์ Input ต่างๆ



   เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลเข้า ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดผ่านช่อง USB ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งแบบมีสาย และไร้สาย








   คีย์บอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์หลักที่เครื่องคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องต้องมี ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีแป้นต่างๆคำสั่งต่างๆอยู่บนคีย์บอร์ด ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีต ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ปัจจุบันก็มีทั้งแบบไร้สายและแบบมีสาย



3. อุปกรณ์ output


   จอมอนิเตอร์ (Monitor) คือ จอแสดงผลสำหรับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอื่นๆ ที่มีจอแสดงภาพ มีความสำคัญต่อการแสดงผลข้อมูลให้กับผู้ใช้ทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้จากทางจอภาพ จะเป็น ภาพ แสง สี ตัวหนังสือ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ได้ หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้ ปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นจอแบบ CRT LCD หรือ LED เป็นต้น


   ลำโพง หรือ Speaker เป็นอุปกรณ์แสดงผลในรูปแบบของเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นระบบสื่อประสมหรือ มัลติมีเดียต่างๆ เป็นต้น








4. ซอฟต์แวร์ (Software)
   ซอฟแวร์ เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยดปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟแวร์จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อควบคุมและคำนวณ
   ซอฟแวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการ (Operating System Software)

   เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฎิบัติการอย่างน้อยหนึ่งระบบเสมอ และระบบปฎิบัติการยอดนิยมในปัจจุบัน ก็ได้แก่ Windows, Mac Os และ Linux เป็นต้น





2) ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
   เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ



  ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่นโปรแกรมสำหรับการสั่งซื้อขายที่ใช้ในร้านค้า หรือโปรแกรมฝากถอนเงิน ใช้ในองค์กรการเงินต่างๆ เช่น ธนคาร เป็นต้น

  ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย และที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PowerPoint, Photoshop เป็นต้น






  ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนประกอบที่ PC เครื่องหนึ่งควรจะมีจะได้พร้อมแก่การใช้งานในปัจจุบันครับ

อ้างอิงค์
1. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น, สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ KKU (23/11/48), http://home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/c1s1intro.htm

2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์, โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย (2559), http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/33/Data/p3.html

3. จอภาพหรือมอนิเตอร์ คืออะไร, thaiwebsocial.com (23/8/57), http://www.thaiwebsocial.com/2014/08/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-monitor-crtlcdled-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

4. ความหมายและหน้าที่ของซอฟต์แวร์, สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี (2559), http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter4/UN4_1.htm

5. ระบบปฎิบัติการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน, นายชาตรี ศรีเมือง (2559), https://sites.google.com/site/teachniccom/content5

มหายุคแห่งไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์คืออะไร ?
   เรามาทำความรู้จักกับฟอสซิล (fossil) กันก่อน ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือซากหรือร่องรอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก


 ประโยชน์ของฟอสซิล คือ ฟอสซิลสามารถบอกเราให้ทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลาทางธรณีวิทยา ทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมของโลกในอดีตกาลได้อีกด้วย เนื่องจากในแต่ละช่วงระยะเวลา ทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเฉพาะบางชนิดเท่านั้น
   จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป (isotope) ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ (radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี ( 4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค (eon) มหายุค (era) ยุค (period) และสมัย (epoch)


  ไดโนเสาร์ คือ สัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือเต่า ซึ่งจะว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอย่างเดียวเลยก็ไม่ได้เพราะพวกมันแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ พวกที่มีกระดูกสะโพกแบบกิ้งก่า และพวกที่มีกระดูกสะโพกคล้ายกับนกหรือสัตว์ปีกอีกด้วย
   ไดโนเสาร์ ปรากฎตัวขึ้นครั้งแรกบนโลกเมื่อราว 215 ล้านปีที่แล้ว ในมหายุคเมโสโซอิค และถูกเรียกว่าเป็นยุคแห่งไดโนเสาร์ทั้งหลาย มหายุคดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็นสามยุค ได้แก่ ไทรแอสสิค (Triassic), จูราสสิค (Jurassic), และครีตาเชียส (Cretaceous)

   ยุคไทรแอสสิค (Triassic ) 245-208 ล้านปีก่อน

   ในยุคนี้ โลกมีเพียงทวีปใหญ่ทวีปเดียว เรียกว่า มหาทวีปแพนเกีย (Pangaea) ตั้งอยู่บนมหาสมุทรแพนธาลัสสิค (Panthalassic ocean) โดยมีทะเลธีทีส (Tethys sea) เป็นส่วนผืนน้ำที่แยกจากมหาสมุทรเว้าเข้าไปในตอนกลางของทวีป
   สภาพอากาศยุคไทรแอสสิคมีสภาพร้อนแห้งแล้ง ยกเว้นแต่เพียบบริเวณใกล้กับชายขอบทวีป เนื่องจากดินแดนตอนในของทวีปอยู่ห่างจากทะเลมากจึงทำให้กระแสลมพัดพาความชื้นไปไม่ถึง จึงส่งผลให้พืชพรรณต่างๆเจริญเติบโตได้ดีแต่เพียงดินแดนที่ไม่ห่างจากชายฝั่งทะเลมาก สภาพดังกล่าวทำให้ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของยุคนี้เป็นเนินเขาโล่งเตียนและทะเลทราย ยกเว้นแต่ชายขอบทวีปที่ปกคลุมด้วยผืนป่าและทุ่งเฟิร์น


   ยุคไทรแอสสิค ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของไดโนเสาร์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สามัญที่สุดในยุคนี้ คือ สัตว์จำพวกเทอแรพซิดส์ชนิดใหม่ที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุค เพอร์เมียน (Permian) ได้แก่ สัตว์จำพวกไซโนดอน (Cynodonts) ที่กินเนื้อ และดิกไซโนดอนท์ (Dicynodonts) ที่กินพืช

  ซินนอกนาตัส (Cynognathus) สัตว์กินเนื้อจำพวกไซโนดอน มีขนปกคลุมทั้งร่างกายเพื่อสร้างความอบอุ่น ลำตัวยาวประมาณ 1.5 เมตร





 

   ลิสโตรซอรัส (Lystrosaurus) สัตว์กินพืชจำพวก ดิกไซโนดอน มีงาขนาดเล็กอยู่ข้างกรามเพื่อช่วยในการขุดรากไม้ และมีจงอยปากที่แข็งแรงไว้ใช้สำหรับฉีกก้านพืช ลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร



   และยังมีสัตว์เลื้อยคลานอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในยุคไทรแอสสิค นั่งก็คือ พวกอาโคซอร์ (Archosaurs) หรือพวกสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป มีแผ่นกระดูกเรียงเป็นแถวยาวอยู่ที่หลัง ยามที่ผักผ่อนขาของมันจะเหยียดออกจากด้าานข้าง แต่อาโคซอร์สามารถพับขามาอยู่ใต้ลำตัวของมันเพื่อช่วยให้มันวิ่งได้เร็วขึ้น

   โพสโตซุคัส (Postosuchus) สัตว์เลื้อยคลานจำพวก อาโคซอร์ นักล่าขนาดใหญ่ที่มีลำตัวยาวประมาณ 3 เมตร มันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไวพอสมควร





   ในเวลาต่อมาสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดจำพวก อาโคซอร์ขนาดเล็ก ก็ได้เริ่มที่จะเดินบนขาหลังทั้งสองข้าง แทนการใช้ขาทั้งสี่ โดยอาโคซอร์เหล่านี้จะเริ่มมีลำตัวที่สั้นลงและหางที่ยาวขึ้นแทน เพื่อใช้ในการรักษาสมดุลในขณะออกวิ่งด้วยขาทั้งสอง สัตว์เหล่านี้เริ่มมีความแตกต่างจากอาโคซอร์อื่นๆ เพราะมีขายาวและตั้งตรงกว่าแกว่งจากหน้าไปหลัง แทนที่จะยื่นออกจากด้านข้างเหมือนพวกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์กลุ่มนี้เองนับเป็นไดโนเสาร์รุ่นแรกของโลก
   ไดโนเสาร์รุ่นแรกๆ ของโลกเป็นสัตว์กินเนื้อ พวกมันสามารถเคลื่อนไหวได้ว่องไวกว่าสัตว์เลื้อยคลานและพวกเทอแรพซิดดส์ ทำให้ได้เปรียบในการออกล่าเหยื่อมากกว่า

  โคอีโลไฟซิส (Coelophysis) สัตว์กินเนื้อไดโนเสาร์รุ่นแรกๆของโลก มีหัวเล็กเรียวยาว ลำตัวบอบบาง มีคอกับหางที่ยาวมากและออกหากินรวมกันเป็นฝูง ลำตัวยาวประมาณ 2.8 เมตร






   พอเริ่มเข้าสู่ช่วงท้ายของยุคไทรแอสสิค ก็เริ่มมีไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกปรากฎขึ้นบนโลก เช่น แพลททีโอซอรัส ซึ่งเป็นพวกโปรซอโรพอด หรือไดโนเสาร์คอยาวรุ่นแรกๆ ที่มีลำตัวโหญ่หนา คอยาว และหนักกว่าสามตัน

   แพลททีโอซอรัส (Plateosaurus) สัตว์กินพืชจำพวกคอยาวรุ่นแรกๆของโลก หนักกว่าสามตันและมีลำตัวยาวถึง 8 เมตร







   ยุคจูราสสิค (Jurassic) 208-146 ล้านปีก่อน
   เมื่อสิ้นสุดยุคไทรแอสสิคเมื่อ 208 ล้านปีก่อน โลกก็เริ่มเข้าสู่ยุคจูราสสิค ซึ่งในยุคนี้สภาพภูมิประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมหาทวีปแพนเกียเริ่มแยกตัวออกจากกัน จนกลายเป็นสองทวีปใหญ่ โดยทวีปทางเหนือถูกเรียกว่า ลอเรเซีย และทางใต้ถูกเรียกว่า กอนโดวานา โดยมีทะเลธีทีสคั่นกลางระหว่างทวีปทั้งสอง
   การแยกตัวเป็นสองทวีป ทำให้เกิดภูเขาเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีพื้นที่หลายแห่งที่ยุบตัวจนกลายเป็นทะเลตื้นๆ ทำให้กระแสลมพัดพาความชื้นจากทะเลเข้าสู่ดินแดนตอนในได้มากขึ้น และพืชพรรณมากมายก็แพร่กระจายเข้าแทนที่ทะเลทราย จนทำให้มีป่าดิบชื้นขนาดใหญ่ปกคลุมไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ซึ่งพืชในยุคนี้ เป็นพวกพืชที่อยู่ในตระกูล เฟิร์น สน ปรง ที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ พืชเหล่านี้หลายชนิดได้วิวัฒนาการจนมีขนาดใหญ่มหึมา ลำต้นสูงตรง ไม่มีกิ่ง ยกเว้นตรงส่วนปลายยอด
 
   ในยุคจูราสสิค ไดโนเสาร์หลายชนิดได้วิวัฒนาการจนมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะพวกินพืชกลุ่มซอโรพอดหรือไดโนเสาร์พันธุ์คอยาว ได้วิวัฒนาการตนเองจนมีขนาดใหญ่มหึมา และพวกกินเนื้อเองก็เช่นเดียวกัน

   อะพาโทซอรัส (Apatosaurus) ไดโนเสาร์กินพืชพันธุ์คอยาวที่มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์คอยาวในยุคไทรแอสสิค มีความยาวประมาณ 21-27 เมตร และมีความสูงประมาณ 4.6 เมตร









   อัลโลซอรัส (Allosaurus) ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่าในยุคไทรแอสสิค มีลักษณะดุร้ายและเป็นนักล่าที่อันตรายมาก มีโหนดเล็กๆบริเวณเหนือดวงตาทั้งสองข้าง ขนาดลำตัวยาว 12 เมตร มีกรงเล็บทั้ง 3 อยู่ที่มือและเท้าของมัน และมีขากรรไกรที่แข็งแรงมาก มันสามารถล่าเหยื่อแม้กระทั้งสัตว์ขนาดใหญ่อย่างเจ้าอะพาโทซอรัสได้





   สเตโกซอรัส (Stegosaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคจูราสสิค พวกมันเดินสี่ขาและมีศีรษะเล็ก และมีสมองที่เล็กมากเท่ากับลูกวอลนัท ซึ่งทำให้พวกมันไม่ค่อยจะฉลาดสะเท่าไหร่ ความยาวลำตัว 8-9 เมตร น้ำหนักประมาณ 3 ตัน มีจุดเด่นคือแผงกระดูกขนาดใหญ่บนหลัง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีไว้เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เย็นลง




   นอกจากนั้นยังมีสัตว์เลื่อยคลานทะเลที่แพร่หลายไปทั่วผืนน้ำ สัตว์เลื่อยคลานบินได้แพร่ไปทั่วท้องฟ้ารวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกตัวแรกของโลกด้วย

   เพลซิโอซอรัส (Plesiosaurus) สัตว์เลื่อยคลานที่อาศัยอยู่ในน้ำและเริ่มแพร่หลายจำนวนมากในยุคจูราสสิค นักวิทยาศาตร์ไม่ได้จัดหมวดหมู่ว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ พวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะปลาที่อยู่ในน้ำ หายใจทางอากาศด้วยออกซิเจน ลำตัวยาวประมาณ 2 เมตรกว่าๆ
 





แรมโฟริงคัส (Rhamphorhynchus) สัตว์เลื่อยคลานที่บินได้ ไม่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ ชอบออกหาล่าเหยื่อตามทะเล อาหารที่ชอบคงเป็นพวกปลาเล็กปลาน้อยต่างๆ ขนาดความกว้างของปีกทั้งสองข้าง 1.5 เมตร ส่วนหัวยาว 19 เซนติเมตร












อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archeopteryx) เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของนก และเป็นนกชนิดแรกของโลก ขนาดลำตัวเท่าอีกา มีขนเป็นเส้นๆแบบเดียวกับนกในปัจจุบัน แต่มีปากที่เต็มไปด้วยฟันอันแหลมคมเหมือนพวกไดโนเสาร์ และมีกรงเล็บอยู่ที่ส่วนปลายของปีก







   ยุคครีตาเซียส (Cretaceous) 146-54 ล้านปีก่อน

   ยุคนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไดโนเสาร์เลยทีเดียว แต่ก็เป็นยุคสุดท้ายของไดโนเสาร์เช่นกัน เพราะยุคนี้ปรากฎไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์มาก และเป็นยุคที่สภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากโลกในยุคนี้ มหาทวีปเหนือและใต้ ได้แยกออกจากกัน จนมีลักษณะใกล้เคียงกับทวีปต่างๆในยุคปัจจุบัน


   โดยการแยกตัวของผืนทวีปส่งผลให้สภาพอากาศมีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้นเนื่องจากกระแสลมสามารถพัดพาความชื้นจากทะเลเข้าสู่แผ่นดินได้มากขึ้น ทำให้มีการวิวัฒนาการของพืชพรรณชนิดใหม่อย่างพวกไม้พุ่ม และต้นไม้บางชนิดที่คล้ายกับยุคหลังๆ ทำให้แผ่นดินในโลกยุคนี้ ถูกปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้นและท้องทุ่งกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยไม้พุ่มเตี้ยๆ อีกทั้งยังเป็นยุคที่โลกมีดอกไม้ปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรก



   อีกัวโลดอน (Iguanodon) ไดโนเสาร์กินพืช มีหนามรูปกรวยติดอยู่ที่อุ้งมือของพวกมันไว้ใช้ป้องกันตัว หรือหาอาหาร มีส่วนขาที่ใหญ่กว่าแขนของมัน ความยาวลำตัวประมาณ 9.3 เมตร  







 

  พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus) ไดโนเสาร์พันธุ์กินพืช ที่มีรูปร่างของหัวแปลกคือกระโหลกยืนออกเป็นหลอดยาวแพร่ออกไปด้านหลังเป็นแนวโค้ง ความยาวลำตัว 10 เมตร และสูงประมาณ 1.8 เมตร







   ไทรเซราทอป (Triceratops) สัตว์กินพืช จำพวกที่มีเขาบนกระโหลก และมีจงอยปากที่แข็งแรง และมีแผงรอบหัวขนาดใหญ่รอบคอ มีเขาสามเขา ไว้ใช้ป้องกันตัว ขนาดลำตัวยาว 8 เมตร สูงประมาณ 4-6 เมตร หนัก 5-7 ตัน







ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) ราชาแห่งไดโนเสาร์ นักล่าขนาดใหญ่ที่ดุร้าย ลำตัวยาว 12.4 เมตร สูงประมาณ 4.6 - 6 เมตร ขนาดขากรรไกรที่ยาวถึง 1.2 เมตร พวกมันชอบไล่ล่าพวกไทรเซราทอป









   อาคีโลซอรัส (Ankylosaurus) สัตว์กินพืช จำพวกที่มีเกราะแข็งรอบตัว และมีหนามขนาดใหญ่ยืนออกมาใช้ป้องกันอันตราย และที่ปลายห่างมีลูกตุ้มขนาดใหญ่ไว้ใช้ต่อสู้ ลำตัวยาว 7.5-10.7 เมตร สูงประมาณ 1.2 เมตร









   อิคธิโอซอรัส (Ichthyosaurus) เป็นสัตวที่อยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่ใช่ไดโนเสาร์ ผิวหนังพวกมันลื่น และมีกระโหลกที่ใหญ่ มีสายตาที่ดีและได้ยินเสียงได้ดีมากๆ พวกมันว่ายน้ำได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่หาอาหารโดยการล่าปลาตัวเล็กๆ และพัวหอยต่างๆ ความยาวลำตัวประมาณ 2 เมตร และ หนัก 90 กิโลกรัม





   สไปโนซอรัส (Spionsaurus) ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่มีแผงขนาดใหญ่ที่ด้านหลัง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเอาไว้ปรับอุณหภูมิในร่างกาย มีหัวกระโหลกคล้ายจรเข้ ลำตัวยาว 12-15 เมตร










   เทอแรนโนดอน (Pteranodon) สัตว์กินเนื้อ ที่โบยบินบนท้องฟ้า พวกมันไม่ใช่สัตว์จำพวกไดโนเสาร์ ชอบกินปลาเป็นอาหาร ลำตัวกว้าง 7.8 เมตร











   เวโลซีแรปเตอร์ (Velociraptor) ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว ออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า มีอาวุธที่แหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้ที่อุ้งเท้า และมีฟันที่แหลมคม พวกมันดูคล้ายนกมาก ลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร












จุดจบของมหายุคไดโนเสาร์

   ไดโนเสาร์ได้ปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ จวบจบสิ้นยุคครีตาเชียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน นักวิทยาศาตร์ต่างก็ไม่ทราบเหตุผลอันแน่ชัดว่าเหตุใดพวกมันจึงสูญพันธ์ุ มีแต่เพียงทฤษฎีต่างๆที่ กล่าวถึงการสูญพันธ์ุของไดโนเสาร์เอาไว้ อย่างเช่น อุกาบาตพุ่งชนโลก ไม่ก็ภูเขาไฟระเบิดทำให้ชั้นบรรยากาศเป็นพิษ หรือโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง จึงทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัวไม่ทัน เป็นต้น เหลือรอดเพียงแค่สัตว์ขนาดเล็กเช่นพวก สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเท่านั้น
   และก็จบมหายุคของไดโนเสาร์ เป็นเวลากว่า 165 ล้านปี
อ้างอิง
1. ไดโนเสาร์ครองโลก (Age of Dinosaur), KOMKID.COM เรื่องราวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และความรู้รอบตัวต่างๆ (2559), http://www.komkid.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81age-of-dinosaur/

2. ซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์, กรมทรัพยากรธรณี (2559), http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=ti2din1d

3. ERA OF THE DINOSAURS, FACT MONSTER (2016), http://www.factmonster.com/dk/science/dinosaurs/era-of-the-dinosaurs.html

4. Earth History and Jurassic Coast, JURASSICCOAST dorset and east devon world heritage site (2016), http://jurassiccoast.org/about/what-is-the-jurassic-coast/earth-history-and-the-jurassic-coast/

5. dinosaurs, Enchantedlearning.com (2016), http://www.enchantedlearning.com/subjects/dinosaurs/dinotemplates/Jurassicprintouts.shtml

6. Jurassic period, BBC (2016), http://www.bbc.co.uk/nature/history_of_the_earth/Jurassic