วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สิ่งเสพติดมีดีหรือไม่?

ส่วนใหญ่ เมื่อกล่าวถึงสิ่งเสพติดแล้ว คนเรามักจะนึกถึงแต่โทษและสิ่งร้ายๆที่ตามมาของสิ่งเสพติด แต่หารู้ไม่ว่า ข้อดีของสิ่งเสพติดก็พอมีอยู่บ้างหรือป่าว ?

ยาบ้า
คือกลุ่มยาแอมเฟทตามีน ซึ่งมีหลายตัว เช่น  methamphetamine, dextroamphetamine เป็นต้น หรือที่เรียกกันว่า ยาม้า ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว หัวใจเต้นแรง แต่พอหมดฤทธิ์ยาจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากกว่าปกติ การตัดสินใจช้าและผิดพลาด นำพามาซึ่งอุบัติเหตุ เมื่อใช้ไปซักระยะจะทำให้ร่างกายดื้อยาและต้องการมากกว่าเดิม หากใช้ติดต่อกันไปนานๆจะทำให้ สมองเสื่อม ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง เสียสติ และเป็นบ้าไปในที่สุด
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีของไทยในอดีตท่านหนึ่งได้ทำให้ยาม้า หมดไปจากประเทศ โดยเสนอให้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ยาบ้า แทนเพื่อให้ตระหนักถึงโทษของยา ยาบ้าเคยถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) หรือใช้กับเด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

และในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (สมัยนั้นอาจจะไม่ได้เรียกว่ายาบ้า) ยังได้นำยาบ้ามาใช้ ในการกระตุ้นความความกล้าหาญ และความอดทน ความอึดถึกและบึกบืนของทหารทั้งสองฝ่าย กันเลยทีเดียว และมีสถิติโดยประมาณกันได้ว่า มีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ด ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แม้กระทั้งฮิตเลอร์ ก็ฉีดยาบ้าแทบทุกวัน หลังสงคราม ยาบ้าได้แพร่ขยายออกไปสู่สังคม และสาเหตุที่เรียกว่า ยาม้า นั้น มาจากการนำยาบ้าไปฉีดให้ม้าแข่งนั้นเอง


ยาอี
ซึ่งย่อมาจาก Ecstasy เป็นสารอนุพันธ์ุ ตัวหนึ่งของยาบ้า (สารอนุพันธ์ุหมายถึง สารที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมี และมีฤทธิ์คล้ายคลึงกัน) ยาอีเป็นสารที่ได้จากการจงใจสังเคราะห์ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์พยายามทดลอง สร้างสารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้ามาหลายตัวและหวังว่าจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่สารส่วนใหญ่ที่ได้นั้นกลับเป็นโทษต่อระบบประสาททั้งสิ้น ดังนั้นยาอีก็ไม่ถือว่ามีประโยชน์อันใดเลย
ส่วนมากผู้นิยมใช้ก็จะเป็นในปาร์ตี้นักศีกษาที่แอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือที่เรียกอีกชื่อว่ายาเลิฟ เพราะ เมื่อผู้เสพยาอีเข้าไปแล้วก็จะรู้สึกมีความสุขเคลิบเคลิ้มสำราญใจ และตามมาด้วยความรู้สึกซึมเศร้าเมาและหลอนประสาท






ยาเค
หรือ เคตามีน (Ketamine) คือ ยาสลบชนิดหนึ่ง สัตวแพทย์ใช้ฉีดกับสัตว์ ยาชนิดนี้ไม่ได้ทำให้ถึงกับสลบไปเลยทีเดียว แต่กลับทำให้ผู้ที่ได้รับไม่รู้สึกเจ็บปวดนั้นเอง แต่ถ้าเสพขนาดสูงก็อาจทำให้สลบได้เช่นกัน มีลักษณะเป็นผงสีขาวละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ เป็นผลึก หรือในรูปแบบน้ำบรรจุในขวดสีชา ปกติมีการใช้ในทางการแพทย์น้อยมากเพราะมันอันตรายมากๆ แพทย์มักจะใช้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เมื่อเสพยาเค จะมีอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม
รู้สึกว่าตนมีพลังอำนาจพิเศษ สูญเสียความคิด ความคิดสับสน การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้งหมดลดลง หากรับปริมาณมากๆ ทำให้ประสาทหลอน หูแว่ว วิกลจริตได้






ยามอร์ฟีน (Morphine)
หรือยาแก้ปวด พบมากในพืชตระกูลฝิ่น และเป็นสารที่ได้จากการสกัด ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มานานแล้วเพราะมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดขั้นธรรมดาไปจนถึงขั้นรุนแรงได้เลยทีเดียว ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยในการผ่าตัดใหญ่ต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดเพราะทำให้สมองคล้ายได้รับสารสือประสาทที่เรียกว่า เอนโดรฟิน ที่ทำงานยับยั้งสัญญาณปวดจากสมองสู่เซลล์เนื้อเยื่อ
ผลข้างเคียงของมอร์ฟีนคือ อาจมีอาการชัก คลื่นใส้ อาเจียน ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก ปวดศีรษะ วินเวียน ชีพจรเต้นผิดปกติ ตัวเย็น ผืนคัน ลมพิษ ตาพร่า มีอาการเหงื่อออกมาก และสามารถติดยาได้ หากรับยาเกินขนาด อาจเกิดอาการหายใจไม่ออก





โคเคน (cocaine) หรือ แคร็ก (crack)
เป็นสารเสพติดที่รู้จักกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอินคา เมื่อประมาณ 600 ปีก่อน โดยชนพื้นเมืองชาวเปรูนับถือว่าโคเคนเป็นเหมือนสารที่พระเจ้าประทานมาให้



เพราะทำให้ผู้เสพมีอารมณ์สนุกสนานได้ในเวลาเพียง 10 วินาที และมีฤทธิ์อยู่นาน 5-15 นาที
มีพละกำลังมากขึ้น ลดความอ่อนเพลีย เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง เกิดภาวะตื่นตัว เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้ทุกชนิด ทั้งการได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส และเรื่องทางเพศ รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ แต่ก็เพิ่มความวิตกกังวล และความระแวงสงสัยให้กับผู้เสพ นอนได้น้อยลง มีอาการวิกลจริต เพราะความหลงผิดว่ามีคนคอยปองร้ายหรือจะฆ่า ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยายและมีไข้ หากขาดยา จะมีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย และก้าวร้าว นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวลดเพราะทำให้ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลียไม่มีแรง เชื่องช้ากระวนกระวาย มีอารมณ์เศร้าและคิดอยากฆ่าตัวตายถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายได้


กัญชา (Cannabis, Marijuana)
รู้จักกันมากว่าพันปีตามตำรารวบรวมสมุนไพรของประเทศจีน เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแฉก 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำประหลัง ต้นกัญชาเป็นที่รู้จักกันดีว่าทำให้ผู้เสพเกิดความสุข และเป็นสิ่งเสพติดที่มีผู้เสพมากที่สุดในโลก 200 - 300 ล้านคนทั่วโลก และเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น 18-30 ปี โดยการสูบหรือรับประทาน อบแห้งแล้วบด ออกฤทธิ์หลังจากเสพประมาณ 10 นาที ทำให้มีอาการ ลดความกลัวตายและความกลัวต่างๆนาๆไป อาจมีความกระวนกระวายบ้างในช่วงแรกๆ แต่หลังจากจากนั้นใจคอจะสงบลง มีความสุข ครึกครื้นสนุกสนาน พูดมากสมองปราดเปรื้อง หัวเราะตลอดเวลา คุยมาก
แขนขาลำตัวเบาหวิว เหมือนตัวลอย
เห็นแสงสีต่างๆเป็นใบหน้าคน หน้าแปลกๆ ต่อจากนั้นก็รู้สึกง่วงนอน และหลับในที่สุด เมื่อตื่นขึ้นจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เสพหิวน้ำ และรับประทานอาหารอร่อย กล้ามเนื้อสั่น เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หูอื้อ ม่านตาขยาย ความดันเลือดสูง อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ มือเท้าเย็น และกัญชามีส่วนในการเปลี่ยนระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย มีอาการคลื่นใส้ อาเจียน ท้องเดิน หายใจไม่สะดวก เคลื่อนไหวร่างกายหลายๆส่วนพร้อมกันได้ยาก มีอาการความคิดสับสน การตัดสินใจและสมาธิเสีย ซึ่งอาจเป็นติดต่อกันหลายชั่วโมงหรือหลายสัปดาห์ก็ได้ จนกลายเป็นโรคจิตในที่สุด

ไงละครับได้รู้จักสารเสพติดและสรรพคุณของมันไปพอสมควรแล้ว คงพอจะคิดได้ว่ามีดีหรือไม่นะครับสำหรับคนที่คิดจะเสพ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มขึ้นจะนำมาเรียบเรียงให้ดีกว่าเดิม ขอบคุณครับ

อ้างอิง
1. นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา พบ. นพ.อังกูร ภัทรากร พบ. กรมการแพทย์ (2559). Healthcare & Laboratory Diagnostic Information. http://www.thailabonline.com/drug-ecstasy.htm, http://www.thailabonline.com/drug-cannabis.htm

2. เภสัชกร สุรชัย อัญเชิญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2559). ยาบ้า ยาอี ยาเค คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหน. http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15682&id_L3=1228

3. จิปาถะ (2559). สารเสพติด ความหมายของยาเสพติด โทษของยาเสพติด. https://blog.eduzones.com/jipatar/85849

4. เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร(2559). มอร์ฟีน (Morphine) . http://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%99/

5. ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2559). ยาบ้า. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/87/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2/

1 ความคิดเห็น: